Keyboard Layouts
ขนาด และ เลย์เอาท์ของคีย์บอร์ด
บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคีย์บอร์ดนั้นมีหลากหลายขนาด และเลย์เอาท์ ซึ่งสองคำนี้มักจะควบคู่กัน เพราะฉะนั้นเราจะพูดถึงสองอย่างนี้ไปพร้อมกันเลยนะครับ ก่อนที่เราจะเริ่มต้นกันเชือกันว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นเลย์เอาท์คีย์บอร์ด หน้าตาแบบนี้อยู่แล้วแน่นอน
Full Size Layout & Keycap Size (ANSI) ขอบคุณรูปจากคุณ Sathit กลุ่ม THMK
ในรูปนี้คีย์บอร์ดขนาด Full Size (100%) นั่นเอง ภายในรูปผมจะอธิบายโดยแยกสีเป็นส่วนๆเอาไว้ว่า แต่ละส่วนของคีย์บอร์ดนั้นเราเรียกมันว่าอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ พูดคุย หรือเลือกซื้อของให้ถูกตามความต้องการกันครับ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ เสียใจ เสียดายตังค์อีกนะ
วิธีดูขนาดคีย์บอร์ด
เมื่อเข้าใจถึงองค์ประกอบของคีย์บอร์ดปกติแล้ว ทีนี้เรามาดูขนาดและ Layout ที่บางท่านอาจจะไม่คุ้นเคยสักเท่าไรกันบ้าง โดยทั่วไปนั้นขนาดของคีย์บอร์ดจะถูกเรียกชื่อแบ่งกันไปหลายๆ แบบ โดยบางเจ้าเรียกโดยใช้ชื่อเฉพาะ บางเจ้าก็ใช้จำนวนปุ่มมาเรียก หรือใช้เรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยทั่วๆไปการเรียกเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์จะถูกใช้กันมากที่สุด ในการเรียกขนาดของคีย์บอร์ด เช่น 100% (รูปที่เราเห็นด้านบน), 60%, 65% 75% และอื่นๆ ทีนี้เรามาดูกันว่าแต่ละขนาดนั้นหน้าตาเป็นยังไงกันบ้าง
100% (Full-size)
คีย์บอร์ดขนาดมาตรฐานประกอบด้วยองค์ประกอบทุกอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
80% (TKL)
สำหรับขนาดนี้ พูดง่ายๆ มันคือคีย์บอร์ด 100% ที่ไม่มี numpad ครับ
75%
ขนาดที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีปุ่มเกือบเท่ากับ TKL แต่นำมาจัดวางให้มีความ กระทัดรัดมากขึ้น
65%
องค์ประกอบคล้ายกับ 75% เพียงแค่ตัด F Row ข้างบนออก เป็นขนาดที่ได้รับความนิยมมากเพราะคล้าย 60% แต่มีลูกศร และปุ่มอื่นๆให้ใช้งานอีกนิดหน่อย
60% (Compact)
คือคีย์บอร์ดขนาดกะทัดรัดสมชื่อ มีเพียงส่วน Alphas และ Modifiers เท่านั้น
Numpad / Macro pad
เป็นขนาดที่ใช้เพื่อเป็น Numpad หรือนำมาใช้งานเป็นคีย์ลัดต่างๆ โดยผู้ใช้งานมักจะโปรแกรมเอง
นอกจากนี้ยังมีคีย์บอร์ดรูปทรงและขนาดอื่นๆ ที่เรายังพบเห็นกับบ้างเช่นกัน
1800 เป็นอีกขนาดที่พบเห็นได้บ่อย มีลักาณะคล้ายๆ Full Size แต่นำปุ่ม Navigation & Arrows ไปไว้ด้านบนของ numpad เพื่อทำให้บอร์ดมีขนาดกระทัดรัดขึ้น
Split คีย์บอร์ดลักษณะนี้คือมีการแบ่งครึ่งตรงกลางออกจากกัน เพื่อให้เกิดเข้ากับสรีระต่อการนั่งทำงานมากขึ่น
Ortho, 50%, 40% เป็นขนาดที่มีปุ่ม Alphas และปุ่ม Modifiers อีกบางส่วน การใช้งานขนาดลักษณะนี้มักจะต้องมีการโปรแกรมปุ่มออกเป็นหลาย Layer เพื่อใช้งานได้ครบถ้วนตามความถนัดของผู้ใช้เอง
แถมอีกนิด เป็นรูป Layout ขนาดต่างๆ ที่สมาชิกของกลุ่ม THMK (คุณ Sathit) เคยได้ทำไว้ครับ เอาไปดูกันเล่นๆ ใครอยากเห็นหน้าตาตัวจริงก็ลองเอาไปหาใน google ดูนะครับ
อะไรคือ WK ,WKL ,Tsangan และ HHKB
ในส่วนของ WK และ WKL นั้นคือตัวย่อมาจาก WinKey หรือ Windows Key นั่นเอง ส่วน WKL ก็คือ Winkeyless หรือพูดง่ายๆคือ มีปุ่ม วินโดว์ หรือไม่มีนั่นเอง สำหรับชื่อเรียกทั้งสองนี้จะใช้เรียกเลย์เอาแถวล่างของคีบอร์ดที่มีการเรียงขนาดปุ่มดังนี้ [1.5u,1u,1.5u,7u,1.5,1,1.5] ใครที่นึกภาพไม่ออกก็ลองดูรูปด้านล่างนะครับ ถ้าถามว่าทำไมถึงไม่มี คำตอบคือเป็นความชอบส่วนตัวของแต่ละคนครับ หลายๆ คนชอบ WKL มากกว่าเพราะมี Blocker นั้นมันดูสวยดี
WK & WKL
ทั้งนี้เลย์เอาท์ WK นั้นมีชื่อเรียกอีกชื่อคือ Tsangan ซึ่งเป็นชื่อของ User ในคอมมูนิตี้คีบอร์ดของเกาหลีใต้ ผู้ที่เป็นคนนำเลย์เอาท์นี้มาใช้ (พูดง่ายมันก็คือเอา WKL มาเติม windows key แหละครับ) เพราะเป็นเลย์เอาร์ที่ทำให้คีบอร์ดดูมีความสมมาตรมากกว่าแบบสมัยใหม่ที่ด้านขวาของ spacebar จะมีปุ่มขนาด 1.25u สี่ปุ่มนั่นเอง
ส่วน HHKB นั้น ย่อมากจาก Happy Hacking Keyboard ซึ่งเป็นชื่อของแบรนด์คีย์บอร์ดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวคิดในการทำคีย์บอร์ดขนาด 60% โดยตัดปุ่มที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ย้ายปุ่ม Left Ctrl ไปแทนที่ปุ่ม Caps Lock ที่แทบไม่มีคนใช้
ANSI & ISO
ทั้งสองตัวย่อนี้ย่อมากจาก ANSI (American National Standards Institute) และ ISO (International Organization for Standardization) พูดง่ายๆคือ มาตรฐานของเลย์เอาท์ของคีบอร์ดนั่นเอง
Image from Wooting.com
ทั้งสองเลเอาร์นี้มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดย ANSI นั้นจะนิยมใช้งานในประเทศอเมริกา หรือในเอเชีย รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ส่วน ISO นั้นจะเป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรป นอกจากนี้ยังมีบางประเทศที่มีเลย์เอาท์เป็นของตัวเองเช่นกัน เช่น JIS ของประเทศญี่ปุ่น
Realforce JIS Layout