Customs Keyboard 101 เริ่มต้นเล่น Custom Keyboard
คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นเล่น Custom Keyboard
สำหรับบทความนี้ตั้งใจเขียนมาสำหรับมือใหม่ในวงการ CustomKeyboard เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น และใช้ในการนำไปต่อยอดในการหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปได้สะดวกและไม่เกิดความสับสน จึงจะไม่ลงรายละเอียดที่ลึกมากเกินไปครับ(ไปหาอ่านกันต่อเอง 5555)
เริ่มกันเลยสำหรับคำถามที่พบบ่อยสำหรับมือใหม่ ก็คือหากจะเริ่มเล่น CustomKeyboard จะต้องเตรียมอะไรบ้าง สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำ CustomKeyboad ของตัวเองซักอัน ขอแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆคือ เครื่องมือ และส่วนประกอบของ CustomKeyboard สำหรับวิธีการทำ Custom Keyboard นั้นผมทำเป็นวีดีโออยู่ด้านล่างสุดครับ
เครื่องมือที่จำเป็นต้องมีสำหรับการทำ Customs Keyboard
ส่วนประกอบของ Customs Mechanical Keyboard
เมื่อมีเครื่องมือครบแล้วเราก็มาทำความรู้จักส่วนประกอบของ CustomKeyboard กันต่อครับ
เพลท (Plate)
อีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญไม่แพ้เคส เพลทอธิบายง่ายๆคือ แผ่นที่ยึดตัว switch มีเข้ากับเคสและแผงวงจร โดยทั่วไปมีความหนะประมาณ 1.2-.1.5mm มีหน้าที่ช่วยจับให้สวิตช์ตรง และได้ระนาบเดียวกันทั้งแถว นอกจากนั้นยังช่วยทำให้ความรู้สึกในการพิมพ์ และเสียงของตัวสวิตช์แตกต่างกันไปตามวัสดุอีกด้วย
แต่ละวัสดุนั้นมีความแข็งและความหนาแน่นของวัสดุเป็นคุณสมบัติที่แตกต่างต่างกัน ความแข็งของวัสดุจะส่งผลโดยตรงต่อแรงสะท้อนสู้นิ้วเราเมื่อกดปุ่มลงไป เพลทที่แข็งมากมักจะทำให้เกิดความรู้สึกสะท้านนิดๆที่นิ้ว ให้โทนเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นรสนิยมส่วนตัวของแต่ละคนเลยครับ
แสตป (Stabilizers)
ชิ้นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อปุ่มที่ยาวตั้งแต่ 2U ขึ้นไป เช่น Backspace, Enter, Shift , Spacebar Stabs มีหน้าที่ช่วยประคองปุ่มเหล่านี้ให้เวลามีแรงกดลงไปแล้วให้ลงไปพร้อมๆกันไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง หลายคนอาจจะถามว่าทำไมเราไม่ใช้ switch 2 ตัวไปเลยหละ คำตอบคือมันจะหนักขึ้นครับเมื่อยนิ้วกันเลยทีเดียว
Stabs หรือ stabilizers มีหลายแบบ หลายยี่ห้อไม่มากไม่น้อย ในที่นี้เราขอพูดถึง Cherry Stabs เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นที่นิยมที่สุดและถูกใช้กันใน CustomKB ทุกตัวเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ Cherry Stabs นั้นมีด้วยกับสามประเภทเรียกง่ายๆตามวิธีการติดตั้งของตัวมันคือ
PCB Mount เป็น stabs ที่ติดตั้งลงบนแผงวงจรโดยตรง โดยที่บนแผงวงจร (PCB) จะมีรูเจาะเอาไว้เพื่อให้ติดตั้งสองรูปตามรูปครับ
Screw-in Mount ติดตั้งโดยใช้รูบนแผงวงจร (PCB) เหมือนกับแบบ PCB mount แต่เปลี่ยนจากการล๊อคแบบ clip เป็นการใช้สกรูแทน
Plate Mount สำหรับ Plate mount นั้น แตกต่างออกไปโดนที่ไม่ต้องติดตั้งบน PCB แต่จะติดตั้งลงบนเพลทเลย ข้อดีคือสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายหากมีปัญหา ไม่ต้องบัดกรีสวิตช์ออกเหมือนอีกสองประเภทด้านบน แต่จะพบมากในคีบอร์ดประเภท Pre-built หรือที่ขายสำเร็จมาแล้วเป็นส่วนมาก
อื่นๆ (etc)
LED สำหรับคนไหนที่ชอบแสงสีเยอะๆในคีบอร์ด PCB ส่วนมากจะไม่มีไฟ LED ติดมาบนบอร์ดเลยทำให้ถ้าหากไฟคือสิ่งที่เราต้องการก็จ้องเตรียมหลอด LED ไว้สำหรับบัดกรีลงสวิตช์ทีละตัวด้วยนะครับ
สาย USB สำหรับ port usb ที่นิยมใช้กันใน PCB ปัจจุบันคือ USB Type-C และ Mini USB สำหรับ USB Type-C คิดว่าทุกคนน่าจะมีอยู่แล้วเพราะมากับมือถือรุ่นใหม่ๆเกือบทั้งหมดและหาไม่ยาก แต่สำหรับ Mini USB เวลาจะหานี่ก็ยากเหลือเกินเพราะเลิกใช้ไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นควรเช็คดูให้ดีซะก่อน ไม่งั้นเดี่ยวมีคีบอร์ดแต่ไม่ได้พิมพ์จะหาว่าไม่เตือน
สำหรับเรื่องการทำหรือบิ้วมีขั้นตอนอย่างไรนั้นลองชมจากวีดีโอนี้ได้เลยครับ